วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ปอบิด จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ปอบิด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Helicteres isora
Flower
Scientific classification
Kingdom:Plantae
(unranked):Angiosperms
(unranked):Eudicots
(unranked):Rosids
Order:Malvales
Family:Malvaceae
Subfamily:Helicteroideae
Genus:Helicteres
Species:H. isora
Binomial name
Helicteres isora
L.

Helicteres isora

From Wikipedia, the free encyclopedia
Helicteres isora, sometimes called the Indian screw tree, is a species of small tree found in Asia.
 The red flowers are pollinated mainly by birds of the sunbird family. Fibres from the bark are used to
make rope. They are also visited by many butterflies and hymenoptera.[1]

References[edit]

  1. Jump up^ Atluri, J. B., Rao, S. P. and Reddi, C. S. (2000). "Pollination ecology of Helicteres isora Linn.
     (Sterculiaceae)"
    Curr. Sci. 78: 713–718.

ปอบิด ( East Indian screw tree ) มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูก มะบิด (ภาคเหนือ) 
ปอทับ (เชียงใหม่) ช้อ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ข้าวจี่ (ลาว) ห้วยเลาะมั่ว (จีนแต้จิ๋ว) หั่วลั่งหมา (จีนกลาง)
นาคพต มะปิด ในตำรายาไทยสามารถใช้เป็นพืช
สมุนไพรสำหรับรักษาโรคได้หลายชนิด [1]
เนื้อหา  [ซ่อน
[แก้] ลักษณะทั่วไป
ปอบิดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-3 เมตร มีขนสีน้ำตาลปกคลุมทั่วทุกส่วน ลำต้นกลม เรียว อ่อนคล้ายเถา บริเวณส่วนเปลือกมีสีเทาและมียางเหนียว ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ แผ่นใบสาก ท้องใบจะมีขน
กว้าง 2.5-3.5 นิ้ว ยาว 4-8 นิ้ว ม้วนเว้าเข้าหากัน ขอบใบหยักเป็นแบบฟันปลา ดอกจะมีสีส้มหรือสีแดงอิฐ จะออกเป็นกระจุกระหว่างต้นกับใบ กระจุกละประมาณ 2-3 ดอก แต่ละดอกมีใบประดับขนาดเล็กรองรับ
มีกลีบรองกลีบดอกสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบคู่บนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ปลายกลีบมน มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้มีสีเหลือง มี 10 อันเชื่อมรวมกับก้านของเกสรตัวเมีย ผล มีลักษณะเป็น
ฝักยาว กลม บิดเป็นเกลีบวมีทั้งบิดซ้ายและบิดขวา ยาว 3-4 เซนติเมตร ออกผลประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ แก่เต็มที่ฝักจะอ้าออก
[แก้] การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
[แก้] แหล่งที่พบ
พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณแล้ง[2] ป่าเต็งรัง ที่รกร้างว่างเปล่า ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย อินเดีย จีนตอนใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูง 100-400 เมตร
[แก้] สรรพคุณ
ราก ใช้ต้มเอาน้ำกิน รสฝาดเฝื่อน บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง แก้บิด ขับเสมหะ แก้ปวดเคล็ดบวม โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิต
เปลือกลำต้น มีสารเฮมิเซลลูโลส 15.8%, ลิกนิน 2.89%, เซลลูโลส 18.6%, เพคติน 0.4%, น้ำมัน 3.11%, กรดไฮดรอกซี่คาร์บอซีลิค, ไฟโตสเตอรอล, phobatanin ใช้เปลือกลำต้นนำมาต้มเป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และเป็นยาบำรุงธาตุ
ฝัก แก้บิด แก้ปวดท้อง แก้โรคลำไส้ในเด็ก
แก่น รสจืดเฝื่อน บำรุงน้ำเหลือง บำรุงกำลัง แก้เสมหะ แก้น้ำเหลืองเสีย
ผล ใช้ผลแห้ง 10-15 กรัม มาต้มเอาน้ำกินแก้ท้องอืด แก้ปวดเคล็ดบวม แก้เสมหะ แก้ลงแดง กระเพาะอาหารเป็นแผล อักเสบ หรือเรื้อรัง
อ้างอิง
  1. ^ [1]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  2. ^ [2].สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย
  3. ^ [3].อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

write comment

facebook-po.ga.bid