วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ข้อมูลสาระน่ารู้ สมุนไพรไทย ปอกะบิด




ข้อมูลสาระน่ารู้ สมุนไพรไทย ปอกะบิด เชียงใหม่
ข้อมูลจาก: วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์และสมุนไพรอำเภอฝาง (ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง)
สมุนไพรประเภท D1 เรียบเรียงโดย : นพ.นิวัฒน์ ศิตวัฒน์
ข้อมูลจาก: จากหนังสือสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง
โดย เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก สำเร็จการศึกษา เภสัชศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประโยชน์ เปลือกลำต้นและกิ่ง ใช้ทำเชือกได้ ข้อมูลจาก : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5
ปอบิด (ปอกะบิด) สรรพคุณ : ประโยชน์ทางยาบำรุงธาตุให้สมดุลของร่างกาย
จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.facebook.com/porkabidchangmai, http://www.pharmacy.mahidol.ac.th
 
ก่อนจะมาเป็น สมุนไพรไทย ปอกะบิด เชียงใหม่ ที่พร้อมต้มดื่ม
1. เก็บฝักปอกะบิด ที่แก่จัด ยังไม่เป็นสีดำ (เพราะถ้าแก่คาต้นจนเป็นสีดำ จะทำให้คลอโรฟิลล์หมดไปคลอโรฟิลล์มีประโยชน์ในการปรับความสมดุลย์ของร่างกาย) นำปอกะบิดที่ได้มาคัดฝักให้สะอาด แล้วนำไปผึ่งลม ตากแดดให้แห้ง ประมาณ 3 แดด
2. จากนั้นให้เอาปอกะบิดที่ตากแห้งไปอบ ในเตาอบ ที่อุณหภูมิ 120 องศา ประมาณ 30-45 นาที เพื่อไล่ความชื้นออก
ให้หมด (ให้คอยสังเกตว่าภายในตู้อบมี ความชื้นลงเหลืออยู่หรือเปล่า) เมื่อแน่ใจแล้วว่าปอกะบิดแห้งสนิทแล้ว ให้นำออกจากเตา
อบ นำไปผึ่งลมให้เย็น ทิ้งไว้
3. นำปอกะบิดที่อบแห้ง ไปคั่วไฟอ่อนๆ ในหม้อดิน คอยคน ตลอดเวลา อย่าใช้ไฟแรงมาก ให้คอยสังเกตว่า ปอกะบิดเริ่มส่งกลิ่นหอม เมื่อเมล็ดข้างในปอกะบิดโดนความร้อนจากการคั่ว จะทำการหลัง อโรม่าออกมาทำให้มีกลิ่นหอม แล้วมีประโยชน์มาก ในเรื่องการปรับสมดุลของร่างกาย กษัยเส้น และในฮอร์โมน บุรุษเพศชาย รวมทั้งระบบขับถ่าย ละลายไขมัน ป้องกันโรคข้อมือ ข้อเท้าล๊อค เหน็บชา ชาปลายมือ ปลายเท้า ลดอาการ ปวดเข่า ปวดข้อ ทำให้นอนหลับสบาย เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่
จะต้องนำปอกะบิดไปคั่วเสียก่อนเมื่อคั่วปอกะบิดจนหอมได้ที่แล้ว ให้ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น นำไปร่อนเอาฝุ่นออกให้หมด ก่อนนำไปบรรจุในถุงภาชนะเก็บไว้ (ควรบรรจุในถุงพลาสติก แล้วปิดให้แน่นเพื่อไม่ให้อากาศถ่ายเทเข้าไป)


วิธีรับประทาน: นำฝักปอกะบิด ประมาณ 25 ฝัก ต่อน้ำ 1.5 ลิตร (น้ำ 1.5 ลิตร จะเท่ากับปริมาณน้ำ 8 แก้ว (ที่ร่างกายต้องการต่อวัน) มาต้มกับน้ำร้อน ประมาณ 15-20 นาที ดื่มได้แบบร้อน หรือแบบเย็น ถ้าต้องการดื่มเพื่อรักษาหรือบรรเทาโรค ให้ดื่มแทนน้ำ ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
ข้อมูลจาก: วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์และสมุนไพรอำเภอฝาง (ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง)

ปอกะบิดเป็นสมุนไพรประเภท D1 หมายถึง สุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ อยู่ในขนาดมาตรฐาน
ดี 1 หมายถึง มีสรรพคุณที่ระบุหนึ่ง ใช้ขนาดสูงได้โดยปลอดภัยหนึ่ง ใช้เป็นระยะยาวนานได้อีก 1 เทียบได้กับยากลุ่มวิตามิน เมลาโทนินและโสม
ดี 2 หรือปานกลาง หมายถึง มีสรรพคุณรักษาโรคเฉพาะได้ แต่หากใช้ระยะยาวอาจมีพิษสะสม เช่น กลุ่มยาปฎิชีวนะดี 3 หมายถึง มีทั้งสรรพคุณและพิษในเวลาเดียวกัน เช่น ยารักษามะเร็งกลุ่มคีโม น่าเสียดายที่เขาห้ามเมลาโทนินเป็นอาหารเสริมในเมืองไทย
เรียบเรียงโดย : นพ.นิวัฒน์ ศิตวัฒน์





ปอกะบิดมีผลข้างเคียง และการแพ้ยาน้อยมาก เพราะเป็นอาหารและเครื่องดื่ม ที่ใช้กินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ยาแผนปัจจุบันมีผลข้างเคียง ได้แก่ หน้ามืด คัดจมูก ไอ และที่ร้ายแรงคือ การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย ความเป็นพิษ ที่เกิดจากสมุนไพร แต่ละชนิดมีน้อยมาก บางชนิดไม่มีเลย จากรายงานผลการทดสอบความเป็นพิษของสมุนไพร แต่ละชนิดที่กล่าวมาแล้ว สมุนไพรชนิดเดียวกัน สามารถรักษาโรคได้หลายอย่าง ทำให้ไม่ต้องใช้ตัวยาหลายชนิด เช่น กรณีผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันสูง ระดับไขมันในเลือดสูง การใช้สมุนไพรขนานเดียวกันก็สามมารถรักษาโรคครอบคลุมทั้ง 3 โรคได้
ข้อมูลจาก: จากหนังสือสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง
โดย เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก สำเร็จการศึกษา เภสัชศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 
การที่ร่างกายมีธาตุทั้ง 4 อย่างสมดุลย่อมหมายถึง ร่างกายที่แข็งแรงปราศจากโรคภัย (สมุนไพรไทยปอกะบิด ช่วยเรื่องการปรับธาตุให้สมดุลของร่างกาย)
องค์ประกอบของร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุ 4 ธาตุ ดังนี้
1. ธาตุดิน (ปถวีธาตุ)
เป็นธาตุที่ประกอบขึ้นเป็นส่วนต่าง ๆ ของมนุษย์ หรือทำให้ร่างกายมีสิ่งยึดเหนี่ยวเป็นรูปร่างขึ้นมาซึ่งประกอบกันทั้งสิ้น  20 ประการ คือ ผม ขน เล็บ เนื้อ ผิวหนัง เนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ลำไส้น้อย ลำไส้ใหญ่ อาหารเก่า(กาก) อาหารใหม่ และมันสมอง ถ้าจะเปรียบกับแพทย์แผนปัจจุบัน ธาตุดินเปรียบเสมือนเซลล์ หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย
2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
ถือว่าน้ำเป็นองค์ประกอบที่มีมากที่สุดในร่างกายทั้งในเซลล์และนอกเซลล์ ประกอบด้วย 12 ประการ คือ น้ำดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น มันเหลว น้ำตา น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร (น้ำปัสสาวะ) แพทย์แผนปัจจุบันมีความคิดว่าน้ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ทำใหร่างกายทำงานไดตามปกติ เพราะน้ำเป็น สื่อในการพาอาหารไปตามระบบต่า ง ๆ ของร่า งกาย ชว่ ยให้ เกิดความอิ่มเอิบ ความตึงตัว ถ้าขาดน้ำผิวหนังจะเหี่ยวย่น ขาดความตึงตัว
3. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
กำหนดไว้ 6 ประการ คือ ลมสำหรับพัดตั้งแต่ปลายเท้าตลอดศีรษะ ลมพัดตั้งแต่ศีรษะตลอดปลายเท้า ลมพัดตั้งแต่ท้องแต่นอกลำไส้ ลมพัดในลำไส้ถึงกระเพาะ ลมพัดทั่วสรรพางค์กาย ลมหายใจเข้าออก ปัจจุบัน หมายความถึงตัวควบคุมการเคลื่อนไหวทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการหายใจ การยืดหดของกล้ามเนื้อ การบีบตัว การสูบฉีดเลือดของหัวใจ การไหลเวียนเลือด หรือการ
เคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร การเคลื่อนไหวของเซลล์ หรือกระแสสัญญาณของระบบประสาท
4. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
ประกอบด้วย 4 ประการ คือ ไฟสำหรับอุ่นกาย ไฟสำหรับร้อนระส่ำระสาย ไฟสำหรับเผาให้คร่ำคร่าและไฟสำหรับย่อยอาหาร ธาตุไฟคือกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายเพื่อให้เกิดพลังงานขึ้นมา พลังงานนี้จะทำให้ธาตุดิน (เซลล์และเนื้อเยื่อ) และธาตุน้ำ (เลือดและน้ำเหลือง) ให้คงอยู่ ไม่เน่าเสีย
ข้อมูลจาก: จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล



อาการปวดเข่า เกิดได้จากหลายปัจจัย รวมถึงอายุที่มากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อเหนือเข่าอ่อนกำลังลง การสร้างเสริมกล้ามเนื้อเหนือเข่าให้แข็งแรง เป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นไปไม่ได้ จะช่วยให้ไม่ให้ปวดเข่า โดยการบริหารข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หลีกเลี่ยงท่าทางที่เพิ่มเเรงกดในข้อเข่า ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ ควบคุมโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ และเอาใจใส่ดูแลสุขภาพทั่วไป เมื่อมีความผิดปกติของข้อเข่าหรือสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ โปรกระลึกเสมอว่า ยาบำรุงและยาแก้ปวดไม่ได้ช่วยให้กล้าม
เนื้อและขอ้ เข่าแข็งแรง การบริหารข้อเข่าอย่างถูกวิธีด้วยตัวเองทุกวัน จะชว่ ยใหข้อเข่าแข็งแรงตลอดเวลา ถ้าเส้นเอ็นหลังหัวเข่าหรือเส้นเอ็นหัวเข่า ตึงมากหรือขด ควรได้รับการนวดเส้นเอ็น โดยผู้ที่มีความรู้และความชำนาญร่วมด้วย พบหลายรายที่ปวดหัวเข่าแล้วแพทย์วินิจฉัยว่า กระดูกข้อเข่าเสื่อม แต่ความจริงแล้วสาเหตุของอาการปวดเข่านั้นมาจากเส้นเอ็น
สมุนไพรไทย ปอกะบิด มีตัวยากษัยเส้น ที่ช่วยลดอาการปวดเข่าได้
 

มีผู้ที่ทานปอกะบิดบางท่าน ในช่วงแรกจะปัสสาวะบ่อย สาเหตุเกิดจาก สมุนไพรปอกะบิด มีโปแตสเซียมที่ช่วยในการควบคุมความสมดุลของน้ำในร่างกาย โปแตสเซียมเป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ควบคุมความสมดุลของน้ำในร่างกาย และมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายเราหลายอย่าง โปแตสเซียมมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูงและต่ำ ส่วนโซเดียมมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูงอย่างเด่นชัด โดยจะทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นมากขึ้น นำมาซึ่งโรคหัวใจและหลอดเลือด
 
ลักษณะ : ต้นปอกะบิด
ไม้พุ่ม สูง 1-2 . ทุกส่วนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่กว้างหรือรูปรี เส้นใบแตกแขนงจากโคนใบ กว้าง 8-14 ซม ยาว 13-17 ซม. โคนใบมนเว้าไม่เท่ากัน ปลายใบมน ขอบใบหยัก แผ่นใบสากฃาย ก้านใบยาว 2 ซม.ดอกสีส้ม ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ แต่ละดอกมีใบประดับขนาดเล็กรองรับ กลีบรองดอกสีเขียวเชื่อมเป็นหลอดโค้ง ยาวประมาณ 2 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ กลีบคู่บนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ขนาด 2.5-3 ซม. ปลายกลีบมน เกสรผู้สีเหลือง 10 อัน เชื่อมร่วมกับก้านเกสรเมีย ยาวประมาณ 4 ซม. ผลเป็นฝักยาวบิดเป็น
เกลียว ยาว 3-4 ซม. เมื่อแก่จะแตก มีสีน้ำตาลดำ


การกระจายพันธุ์: จากอินเดีย จีนตอนใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ที่ระดับฃวามสูง 100-400 . ออกดอกและติดผลช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน


ประโยชน์ : เปลือกลำต้นและกิ่ง ใช้ทำเชือกได้ ข้อมูลจาก : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5__

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

write comment

facebook-po.ga.bid