วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ปอบิด จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ปอบิด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Helicteres isora
Flower
Scientific classification
Kingdom:Plantae
(unranked):Angiosperms
(unranked):Eudicots
(unranked):Rosids
Order:Malvales
Family:Malvaceae
Subfamily:Helicteroideae
Genus:Helicteres
Species:H. isora
Binomial name
Helicteres isora
L.

Helicteres isora

From Wikipedia, the free encyclopedia
Helicteres isora, sometimes called the Indian screw tree, is a species of small tree found in Asia.
 The red flowers are pollinated mainly by birds of the sunbird family. Fibres from the bark are used to
make rope. They are also visited by many butterflies and hymenoptera.[1]

References[edit]

  1. Jump up^ Atluri, J. B., Rao, S. P. and Reddi, C. S. (2000). "Pollination ecology of Helicteres isora Linn.
     (Sterculiaceae)"
    Curr. Sci. 78: 713–718.

ปอบิด ( East Indian screw tree ) มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามพื้นที่ปลูก มะบิด (ภาคเหนือ) 
ปอทับ (เชียงใหม่) ช้อ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ข้าวจี่ (ลาว) ห้วยเลาะมั่ว (จีนแต้จิ๋ว) หั่วลั่งหมา (จีนกลาง)
นาคพต มะปิด ในตำรายาไทยสามารถใช้เป็นพืช
สมุนไพรสำหรับรักษาโรคได้หลายชนิด [1]
เนื้อหา  [ซ่อน
[แก้] ลักษณะทั่วไป
ปอบิดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-3 เมตร มีขนสีน้ำตาลปกคลุมทั่วทุกส่วน ลำต้นกลม เรียว อ่อนคล้ายเถา บริเวณส่วนเปลือกมีสีเทาและมียางเหนียว ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ แผ่นใบสาก ท้องใบจะมีขน
กว้าง 2.5-3.5 นิ้ว ยาว 4-8 นิ้ว ม้วนเว้าเข้าหากัน ขอบใบหยักเป็นแบบฟันปลา ดอกจะมีสีส้มหรือสีแดงอิฐ จะออกเป็นกระจุกระหว่างต้นกับใบ กระจุกละประมาณ 2-3 ดอก แต่ละดอกมีใบประดับขนาดเล็กรองรับ
มีกลีบรองกลีบดอกสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบคู่บนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ปลายกลีบมน มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เกสรตัวผู้มีสีเหลือง มี 10 อันเชื่อมรวมกับก้านของเกสรตัวเมีย ผล มีลักษณะเป็น
ฝักยาว กลม บิดเป็นเกลีบวมีทั้งบิดซ้ายและบิดขวา ยาว 3-4 เซนติเมตร ออกผลประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ แก่เต็มที่ฝักจะอ้าออก
[แก้] การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
[แก้] แหล่งที่พบ
พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณแล้ง[2] ป่าเต็งรัง ที่รกร้างว่างเปล่า ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย อินเดีย จีนตอนใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูง 100-400 เมตร
[แก้] สรรพคุณ
ราก ใช้ต้มเอาน้ำกิน รสฝาดเฝื่อน บำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง แก้บิด ขับเสมหะ แก้ปวดเคล็ดบวม โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิต
เปลือกลำต้น มีสารเฮมิเซลลูโลส 15.8%, ลิกนิน 2.89%, เซลลูโลส 18.6%, เพคติน 0.4%, น้ำมัน 3.11%, กรดไฮดรอกซี่คาร์บอซีลิค, ไฟโตสเตอรอล, phobatanin ใช้เปลือกลำต้นนำมาต้มเป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และเป็นยาบำรุงธาตุ
ฝัก แก้บิด แก้ปวดท้อง แก้โรคลำไส้ในเด็ก
แก่น รสจืดเฝื่อน บำรุงน้ำเหลือง บำรุงกำลัง แก้เสมหะ แก้น้ำเหลืองเสีย
ผล ใช้ผลแห้ง 10-15 กรัม มาต้มเอาน้ำกินแก้ท้องอืด แก้ปวดเคล็ดบวม แก้เสมหะ แก้ลงแดง กระเพาะอาหารเป็นแผล อักเสบ หรือเรื้อรัง
อ้างอิง
  1. ^ [1]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  2. ^ [2].สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย
  3. ^ [3].อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

ประโยชน์ของสมุนไพรปอกะบิด (ปอบิด)


 ประโยชน์ของสมุนไพรปอกะบิด (ปอบิด)
(Helicteres Isora) ตามสูตรสมุนไพรในการรักษาพยาบาลพื้นบ้านอินเดีย Pankaj Oudhia ผลของการสำรวจทางพฤกษศาสตร์พื้นบ้านจากปี 1990 ถึง 2012

ส่วนของต้น
สรรพคุณ
วิธีบริโภค
ราก
บำรุงธาตุ, แก้เสมหะ , ใช้เป็นยาแก้
ไอและหอบหืด 
แก้ธาตุพิการ,
รักษาโรคความดันโลหิต ,
 แก้โรคบิด, แก้อาการท้องร่วง,
 แก้อาการปวดเคล็ดบวม,สมานแผล
นำไปต้มน้ำดื่ม

เปลือกต้น
เป็นยาบำรุงธาตุ,แก้อาการท้องร่วง,
แก้โรคบิด , ขับเสมหะ,สมานแผล
ใช้เปลือกนำมาต้ม
เป็นยารับประทาน

แก่นต้น
บำรุงกำลัง,แก้เสมหะ ,สมานแผล
บำรุงน้ำเหลือง แก้น้ำเหลืองเสีย
นำมาต้มน้ำดื่ม

ฝัก
(demulcent)
ยาฝาดสมาน,แก้อาการปวดท้อง ,
 แก้โรคบิด, รักษาโรคลำไส้ในเด็ก,
 เป็นยาสมานแผล มีประโยชน์ในการยึด
ของลำไส้
และอาการท้องอืดของเด็กและ
นโรคบิดเรื้อรัง ฝัก Isora นำมาทอด
ใช้ฆ่าพยาธิในเด็ก 
นำไปต้ม
เป็นน้ำดื่ม
รับประทาน

ใบ (Helicteres Isora) 
นำมาใช้รักษา กลากและโรคผิวหนังอื่นๆ  บดละเอียดแล้วนำไป
พอกบริเวณที่ต้องการ

ฝักแห้ง
แก้อาการลงแดง,
 แก้เสมหะ,รักษาแผล อาการ
อักเสบเรื้อรังในกระเพาะอาหาร,
 แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ,
แก้อาการปวดบวมเคล็ด
น้ำต้มจากฝัก Isora ถูกนำมาใช้ใน
รักษาโรคเบาหวา
นและ
โรคกระเพาะอาหาร
ใช้ประมาณ
 10 กรัม
นำมาต้ม

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

น่ารู้เกี่ยวกับ ปอกะบิด

ปอกะบิด หรือ ปอบิด
ชื่อภาษาอังกฤษ : East lnclian screw tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helicteres isora

ลักษณะทางกายภาพ


        เป็นไม่พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-2 เมตร ลักษณะของลำต้นดูกลมเรียวอ่อนดูคล้ายเถา เปลือกนอกมีสีเทา และมีดอกสีส้ม
       ฝักปอกะบิด ฝักอ่อนมีสีเขียว กลมเป็นเกลียวยาวประมาณ 2-3 นิ้ว
ฝักมีคุณภาพควรเป็นสีทองแห้ง

       ฝักแก่จะเป็นสีดำแห้ง และยังเป็นสมุนไพรที่สามารถรักษาโรคได้หลายโรค

เมล็ดปอกะบิด


ปอกะบิด คือ สมุนไพรไทยที่สามารถนำมาตากแห้งต้มกินได้ทั้งต้น แม้กระทั่งราก!!
ปอกะบิด เป็นพืชที่1ปีจะออกดอกและฝักเพียงครั้งเดียวในช่วงฤดูหนาว


สรรพคุณ ที่เด่นๆน่าสนใจคือ รักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ลดน้ำหนัก แก้ปัญหาภายในมดลูก แก้เหน็บชา ภูมิแพ้ ไทรอยด์ ปวดข้อ เข่า หลัง ไมเกรน นิ่ว ท้องเสีย โรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ บำรุงตับ ไต

     มีการศึกษาวิจัยพบว่าสารสกัดน้ำจากผลปอบิดมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในหนูขาว และป้องกันไม่ให้ระดับไขมันสูง (ข้อมูลจาก สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย และ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล) และตามความเชื่อของชาวเผ่า ปกาเกอะญอ และชาวจีนเชื่อว่า การนำฝักปอกะบิดแห้งมาคั่ว จะทำให้หลั่งสาร อโรม่า ช่วยในเรื่อง กษัยเส้น บำรุงฮอร์โมนเพศชาย 

คนลองดื่มน้ำปอกะบิดต้มกันแล้วต่างประทับใจบอกต่อๆกันออกไป ใช้ต้มกินไม่ถึงเดือนสามารถพิชิตโรคเบาหวานได้ ศูนย์ปฎิบัติธรรมอนุรักษ์มรดกไทย ที่เขาคิชฌกูฎ ยังแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐสภายังต้มใส่ขวดหอบมาดื่มที่ทำงานทุกวัน

รสชาติของน้ำปอกะบิดนั้นหอม ไม่ฝาด ดื่มง่ายเหมือนน้ำชา สามารถดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น สามารถใส่ใบเตยรวมไปกับปอกะบิดตอนต้มได้ เพื่อให้กลิ่นหอมยิ่งขึ้น และควรอุ่นหรือแช่เย็นไว้หากต้มทีละเยอะๆ เพราะไม่งั้นกลิ่นของน้ำจะไม่ดีอาจจะบูดได้หากไว้ในอุณหภูมิห้องข้ามวัน




วิธีรับประทานปอกะบิด (มี 3 วิธี)

 วิธีที่ 1. นำฝักปอกะบิด 50 ฝัก มาล้างน้ำให้สะอาด แล้วจึงนำไปต้มในน้ำ 3 ลิตร โดยใช้เวลาประมาณ 5 – 10 นาที ต้มได้ 4 ครั้ง หรือจนกว่าสีน้ำจะจางแล้วจึง เปลี่ยนยาใหม่ ดื่มแทนน้ำทั้งวัน วิธีนี้เห็นผลเร็ว

 วิธีที่ 2. นำฝักปอกะบิด 10 ฝัก มาล้างน้ำให้สะอาด แล้วจึงนำไปต้มในน้ำ 3 แก้ว จากนั้นเคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว ดื่มวันละ 1 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว

 วิธีที่ 3. นำฝักปอกะบิด 4 – 5 ฝัก มาล้างน้ำให้สะอาด แล้วจึงนำไปใส่น้ำร้อน 1 แก้ว จิบเป็นน้ำชาเติมน้ำได้เรื่อย ๆ จนกว่าสีน้ำจะจาง หรือ ชงในกาชงชาก็ได้ หมายเหตุ ทั้ง 3 วิธี ควร กรองด้วยผ้าขาวบาง ก่อนดื่ม

วิธีต้ม และรับประทาน

วิธีต้ม และรับประทาน
45-50 ฝัก ต้มได้ 4 ครั้ง


1.) นำปอกะบิด ล้างน้ำ 3- 5 น้ำให้สะอาดแล้ว นำน้ำ 3 ลิตร ตั้งไฟแรงต้มเดือด

 2.) แล้วนำปอกะบิดที่ล้างลงหม้อ ต้ม 3-4 นาที พอ เสร็จยกหม้อลงจากไฟแยกกากกับน้ำออก เก็บในตู้เย็นช่องแข็ง เพื่อเก็บไว้ต้มอีก 3 ครั้ง หรือจนกว่าจะสีจางแล้วถึงเปลี่ยนห่อใหม่ ดื่มได้ทั้ง ร้อน และ เย็น ให้ดื่มแทนน้ำทั้งวัน หรือดื่มวันละ 6 แก้ว เป็นอย่างน้อย ถึงจะเห็นผล

ข้อมูลสาระน่ารู้ สมุนไพรไทย ปอกะบิด




ข้อมูลสาระน่ารู้ สมุนไพรไทย ปอกะบิด เชียงใหม่
ข้อมูลจาก: วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์และสมุนไพรอำเภอฝาง (ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง)
สมุนไพรประเภท D1 เรียบเรียงโดย : นพ.นิวัฒน์ ศิตวัฒน์
ข้อมูลจาก: จากหนังสือสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง
โดย เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก สำเร็จการศึกษา เภสัชศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประโยชน์ เปลือกลำต้นและกิ่ง ใช้ทำเชือกได้ ข้อมูลจาก : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5
ปอบิด (ปอกะบิด) สรรพคุณ : ประโยชน์ทางยาบำรุงธาตุให้สมดุลของร่างกาย
จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.facebook.com/porkabidchangmai, http://www.pharmacy.mahidol.ac.th
 
ก่อนจะมาเป็น สมุนไพรไทย ปอกะบิด เชียงใหม่ ที่พร้อมต้มดื่ม
1. เก็บฝักปอกะบิด ที่แก่จัด ยังไม่เป็นสีดำ (เพราะถ้าแก่คาต้นจนเป็นสีดำ จะทำให้คลอโรฟิลล์หมดไปคลอโรฟิลล์มีประโยชน์ในการปรับความสมดุลย์ของร่างกาย) นำปอกะบิดที่ได้มาคัดฝักให้สะอาด แล้วนำไปผึ่งลม ตากแดดให้แห้ง ประมาณ 3 แดด
2. จากนั้นให้เอาปอกะบิดที่ตากแห้งไปอบ ในเตาอบ ที่อุณหภูมิ 120 องศา ประมาณ 30-45 นาที เพื่อไล่ความชื้นออก
ให้หมด (ให้คอยสังเกตว่าภายในตู้อบมี ความชื้นลงเหลืออยู่หรือเปล่า) เมื่อแน่ใจแล้วว่าปอกะบิดแห้งสนิทแล้ว ให้นำออกจากเตา
อบ นำไปผึ่งลมให้เย็น ทิ้งไว้
3. นำปอกะบิดที่อบแห้ง ไปคั่วไฟอ่อนๆ ในหม้อดิน คอยคน ตลอดเวลา อย่าใช้ไฟแรงมาก ให้คอยสังเกตว่า ปอกะบิดเริ่มส่งกลิ่นหอม เมื่อเมล็ดข้างในปอกะบิดโดนความร้อนจากการคั่ว จะทำการหลัง อโรม่าออกมาทำให้มีกลิ่นหอม แล้วมีประโยชน์มาก ในเรื่องการปรับสมดุลของร่างกาย กษัยเส้น และในฮอร์โมน บุรุษเพศชาย รวมทั้งระบบขับถ่าย ละลายไขมัน ป้องกันโรคข้อมือ ข้อเท้าล๊อค เหน็บชา ชาปลายมือ ปลายเท้า ลดอาการ ปวดเข่า ปวดข้อ ทำให้นอนหลับสบาย เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่
จะต้องนำปอกะบิดไปคั่วเสียก่อนเมื่อคั่วปอกะบิดจนหอมได้ที่แล้ว ให้ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น นำไปร่อนเอาฝุ่นออกให้หมด ก่อนนำไปบรรจุในถุงภาชนะเก็บไว้ (ควรบรรจุในถุงพลาสติก แล้วปิดให้แน่นเพื่อไม่ให้อากาศถ่ายเทเข้าไป)


วิธีรับประทาน: นำฝักปอกะบิด ประมาณ 25 ฝัก ต่อน้ำ 1.5 ลิตร (น้ำ 1.5 ลิตร จะเท่ากับปริมาณน้ำ 8 แก้ว (ที่ร่างกายต้องการต่อวัน) มาต้มกับน้ำร้อน ประมาณ 15-20 นาที ดื่มได้แบบร้อน หรือแบบเย็น ถ้าต้องการดื่มเพื่อรักษาหรือบรรเทาโรค ให้ดื่มแทนน้ำ ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน
ข้อมูลจาก: วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์และสมุนไพรอำเภอฝาง (ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง)

ปอกะบิดเป็นสมุนไพรประเภท D1 หมายถึง สุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ อยู่ในขนาดมาตรฐาน
ดี 1 หมายถึง มีสรรพคุณที่ระบุหนึ่ง ใช้ขนาดสูงได้โดยปลอดภัยหนึ่ง ใช้เป็นระยะยาวนานได้อีก 1 เทียบได้กับยากลุ่มวิตามิน เมลาโทนินและโสม
ดี 2 หรือปานกลาง หมายถึง มีสรรพคุณรักษาโรคเฉพาะได้ แต่หากใช้ระยะยาวอาจมีพิษสะสม เช่น กลุ่มยาปฎิชีวนะดี 3 หมายถึง มีทั้งสรรพคุณและพิษในเวลาเดียวกัน เช่น ยารักษามะเร็งกลุ่มคีโม น่าเสียดายที่เขาห้ามเมลาโทนินเป็นอาหารเสริมในเมืองไทย
เรียบเรียงโดย : นพ.นิวัฒน์ ศิตวัฒน์





ปอกะบิดมีผลข้างเคียง และการแพ้ยาน้อยมาก เพราะเป็นอาหารและเครื่องดื่ม ที่ใช้กินในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ยาแผนปัจจุบันมีผลข้างเคียง ได้แก่ หน้ามืด คัดจมูก ไอ และที่ร้ายแรงคือ การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย ความเป็นพิษ ที่เกิดจากสมุนไพร แต่ละชนิดมีน้อยมาก บางชนิดไม่มีเลย จากรายงานผลการทดสอบความเป็นพิษของสมุนไพร แต่ละชนิดที่กล่าวมาแล้ว สมุนไพรชนิดเดียวกัน สามารถรักษาโรคได้หลายอย่าง ทำให้ไม่ต้องใช้ตัวยาหลายชนิด เช่น กรณีผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ความดันสูง ระดับไขมันในเลือดสูง การใช้สมุนไพรขนานเดียวกันก็สามมารถรักษาโรคครอบคลุมทั้ง 3 โรคได้
ข้อมูลจาก: จากหนังสือสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง
โดย เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก สำเร็จการศึกษา เภสัชศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 
การที่ร่างกายมีธาตุทั้ง 4 อย่างสมดุลย่อมหมายถึง ร่างกายที่แข็งแรงปราศจากโรคภัย (สมุนไพรไทยปอกะบิด ช่วยเรื่องการปรับธาตุให้สมดุลของร่างกาย)
องค์ประกอบของร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุ 4 ธาตุ ดังนี้
1. ธาตุดิน (ปถวีธาตุ)
เป็นธาตุที่ประกอบขึ้นเป็นส่วนต่าง ๆ ของมนุษย์ หรือทำให้ร่างกายมีสิ่งยึดเหนี่ยวเป็นรูปร่างขึ้นมาซึ่งประกอบกันทั้งสิ้น  20 ประการ คือ ผม ขน เล็บ เนื้อ ผิวหนัง เนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ลำไส้น้อย ลำไส้ใหญ่ อาหารเก่า(กาก) อาหารใหม่ และมันสมอง ถ้าจะเปรียบกับแพทย์แผนปัจจุบัน ธาตุดินเปรียบเสมือนเซลล์ หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย
2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
ถือว่าน้ำเป็นองค์ประกอบที่มีมากที่สุดในร่างกายทั้งในเซลล์และนอกเซลล์ ประกอบด้วย 12 ประการ คือ น้ำดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น มันเหลว น้ำตา น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร (น้ำปัสสาวะ) แพทย์แผนปัจจุบันมีความคิดว่าน้ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ทำใหร่างกายทำงานไดตามปกติ เพราะน้ำเป็น สื่อในการพาอาหารไปตามระบบต่า ง ๆ ของร่า งกาย ชว่ ยให้ เกิดความอิ่มเอิบ ความตึงตัว ถ้าขาดน้ำผิวหนังจะเหี่ยวย่น ขาดความตึงตัว
3. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
กำหนดไว้ 6 ประการ คือ ลมสำหรับพัดตั้งแต่ปลายเท้าตลอดศีรษะ ลมพัดตั้งแต่ศีรษะตลอดปลายเท้า ลมพัดตั้งแต่ท้องแต่นอกลำไส้ ลมพัดในลำไส้ถึงกระเพาะ ลมพัดทั่วสรรพางค์กาย ลมหายใจเข้าออก ปัจจุบัน หมายความถึงตัวควบคุมการเคลื่อนไหวทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการหายใจ การยืดหดของกล้ามเนื้อ การบีบตัว การสูบฉีดเลือดของหัวใจ การไหลเวียนเลือด หรือการ
เคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร การเคลื่อนไหวของเซลล์ หรือกระแสสัญญาณของระบบประสาท
4. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
ประกอบด้วย 4 ประการ คือ ไฟสำหรับอุ่นกาย ไฟสำหรับร้อนระส่ำระสาย ไฟสำหรับเผาให้คร่ำคร่าและไฟสำหรับย่อยอาหาร ธาตุไฟคือกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายเพื่อให้เกิดพลังงานขึ้นมา พลังงานนี้จะทำให้ธาตุดิน (เซลล์และเนื้อเยื่อ) และธาตุน้ำ (เลือดและน้ำเหลือง) ให้คงอยู่ ไม่เน่าเสีย
ข้อมูลจาก: จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล



อาการปวดเข่า เกิดได้จากหลายปัจจัย รวมถึงอายุที่มากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อเหนือเข่าอ่อนกำลังลง การสร้างเสริมกล้ามเนื้อเหนือเข่าให้แข็งแรง เป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นไปไม่ได้ จะช่วยให้ไม่ให้ปวดเข่า โดยการบริหารข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หลีกเลี่ยงท่าทางที่เพิ่มเเรงกดในข้อเข่า ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ ควบคุมโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ และเอาใจใส่ดูแลสุขภาพทั่วไป เมื่อมีความผิดปกติของข้อเข่าหรือสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ โปรกระลึกเสมอว่า ยาบำรุงและยาแก้ปวดไม่ได้ช่วยให้กล้าม
เนื้อและขอ้ เข่าแข็งแรง การบริหารข้อเข่าอย่างถูกวิธีด้วยตัวเองทุกวัน จะชว่ ยใหข้อเข่าแข็งแรงตลอดเวลา ถ้าเส้นเอ็นหลังหัวเข่าหรือเส้นเอ็นหัวเข่า ตึงมากหรือขด ควรได้รับการนวดเส้นเอ็น โดยผู้ที่มีความรู้และความชำนาญร่วมด้วย พบหลายรายที่ปวดหัวเข่าแล้วแพทย์วินิจฉัยว่า กระดูกข้อเข่าเสื่อม แต่ความจริงแล้วสาเหตุของอาการปวดเข่านั้นมาจากเส้นเอ็น
สมุนไพรไทย ปอกะบิด มีตัวยากษัยเส้น ที่ช่วยลดอาการปวดเข่าได้
 

มีผู้ที่ทานปอกะบิดบางท่าน ในช่วงแรกจะปัสสาวะบ่อย สาเหตุเกิดจาก สมุนไพรปอกะบิด มีโปแตสเซียมที่ช่วยในการควบคุมความสมดุลของน้ำในร่างกาย โปแตสเซียมเป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ควบคุมความสมดุลของน้ำในร่างกาย และมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายเราหลายอย่าง โปแตสเซียมมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูงและต่ำ ส่วนโซเดียมมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูงอย่างเด่นชัด โดยจะทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นมากขึ้น นำมาซึ่งโรคหัวใจและหลอดเลือด
 
ลักษณะ : ต้นปอกะบิด
ไม้พุ่ม สูง 1-2 . ทุกส่วนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่กว้างหรือรูปรี เส้นใบแตกแขนงจากโคนใบ กว้าง 8-14 ซม ยาว 13-17 ซม. โคนใบมนเว้าไม่เท่ากัน ปลายใบมน ขอบใบหยัก แผ่นใบสากฃาย ก้านใบยาว 2 ซม.ดอกสีส้ม ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ แต่ละดอกมีใบประดับขนาดเล็กรองรับ กลีบรองดอกสีเขียวเชื่อมเป็นหลอดโค้ง ยาวประมาณ 2 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ กลีบคู่บนมีขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ขนาด 2.5-3 ซม. ปลายกลีบมน เกสรผู้สีเหลือง 10 อัน เชื่อมร่วมกับก้านเกสรเมีย ยาวประมาณ 4 ซม. ผลเป็นฝักยาวบิดเป็น
เกลียว ยาว 3-4 ซม. เมื่อแก่จะแตก มีสีน้ำตาลดำ


การกระจายพันธุ์: จากอินเดีย จีนตอนใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ที่ระดับฃวามสูง 100-400 . ออกดอกและติดผลช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน


ประโยชน์ : เปลือกลำต้นและกิ่ง ใช้ทำเชือกได้ ข้อมูลจาก : หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5__

ขั้นตอน การทำ สมุนไพร ปอกะบิด

ขั้นตอน การทำ สมุนไพร ปอกะบิด



ขั้นตอน การทำ สมุนไพร ปอกะบิด
1    เก็บฝักปอกะบิด ที่สด และแก่จัด แต่ยังไม่เป็นสีดำ  หรือแห้งคาต้น [เพราะถ้าแก่แห้งคาต้นจนเป็นสีดำ จะทำให้คลอโรฟิลล์หมดไป คลอโรฟิลล์มีประโยชน์ในการปรับความสมดุล ของร่างกาย ถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้แก่จนแห้งคาต้น อาจทำให้ ปอกะบิดนั้นมีเชื้อรา ติดมาเนื่องจาก โดนน้ำค้างช่วงเวลากลางคืน  ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับลำใส้ได้]  
2.  ตัดก้านที่ติดมากับฝักปอกะบิด ให้เหลือประมาณ 1 ซ.ม. เพื่อสามารถนำปอกะบิดไปล้างให้สะอาดได้ทั่วถึง และง่ายขึ้น แล้วสะเด็ดน้ำออกให้หมด
3  นำไปผึ่งลม ตากในที่ร่ม ไม่ให้โดนแสงแดดตรงๆ  เพื่อไม่ให้ปอกะบิดสูญเสียคลอโรฟิลล์ ทำวิธีเดียวกับการผึ่ง ใบมะรุม ผึ่งไว้ให้แห้ง เสียก่อน ประมาณ 7 วัน หรือ 1 อาทิตย์ 
2   จากนั้น ให้เอาปอกะบิดที่ผึ่งลมจนแห้งแล้วไปอบ ในเตาอบอินฟาเรท ที่อุณหภูมิ  150 องศา เพื่อไม่ให้ปอกะบิดมีสีดำ และไล่ความชื้น ออกให้หมด พร้อมกับฆ่าเชื้อรา  เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย [ให้คอยสังเกตว่าภายในตู้อบมี ความชื้นลงเหลืออยู่หรือเปล่า]  เมื่อแน่ใจแล้วว่าปอกะบิดแห้งสนิท แล้ว ให้นำออกจากเตาอบ นำไปผึ่งลมให้เย็น ทิ้งไว้
3    นำปอกะบิดที่อบแห้งให้ ไปคั่วไฟ อ่อนๆ ในหม้อดิน  คอยคนตลอดเวลา อย่าใช้ไฟแรงมาก ให้คอยสังเกตว่า ปอกะบิดเริ่มส่งกลิ่นหอม ตามความเชื่อของคนเผ่า ปกากะยอ บอกว่าเมื่อเมล็ดข้างในปอกะบิดโดนความร้อนจากการคั่ว จะทำการหลั่งสารบางอย่าง (อโรม่า)  ออกมาทำให้มีกลิ่นหอม แล้วมีประโยชน์มาก ในเรื่อง กษัยเส้น และในฮอร์โมน บุรุษเพศชาย รวมทั้งระบบขับถ่าย ละลายไขมัน ป้องกัน โรคข้อมือ ข้อเท้า ล๊อค เหน็บชา ชาปลายมือ ปลายเท้า ลดอาการ ปวดเข่า ปวดข้อ ทำให้นอนหลับสบาย เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องนำปอกะบิดไปคั่ว หรือ อบ เสียก่อนเมื่อคั่วปอกะบิดจนหอมได้ที่แล้ว ให้ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น นำไปร่อน เอาฝุ่น คาย ออกให้หมด ก่อนนำไปบรรจุในถุงภาชนะเก็บไว้ [ควรบรรจุในถุงศูนย์ยากาศ หรือถุงพลาสติก แล้วปิดให้แน่นเพื่อไม่ให้อากาศถ่ายเทเข้าไป]


วิธีรับประทาน: 

ใช้ต้ม กับน้ำจนเดือด และน้ำเปลี่ยนเป็นสี เหลืองเข้ม เกือบน้ำตาล มีกลิ่นหอม  สามารถดื่ม แบบ ร้อน และหรือทิ้งไว้ให้เย็น  ปริมาณการต้ม คือ 25 ฝัก ต่อน้ำ 1.5ลิตร  *** ปอกะบิด 20-25 ฝัก ต้มได้ประมาณ 3ครั้ง 

ปอกะบิด พิชิต เบาหวาน

ปอกะบิด พิชิต เบาหวาน




          ปอกะบิด พิชิตเบาหวาน ได้ จริง หรือไม่ เป็นที่ ฮือฮา และ กล่าวขาน กันอย่างแพร่หลาย ในกลุ่มผู้สนใจด้านสมุนไพรไทย และ โดยเฉพาะ กลุ่มผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ โดยตรง เกี่ยวกับ โรค เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด คลอดเรสเตอรอล ภูมิแพ้ หืด หอบ ไม่เกรน เก๊าท์ ริดสีดวงทวาร ระบบ ขับถ่ายผิดปกติ โรค อ้วน น้ำหนักเกิน โรค ตับอักเสบ โรค ไต นิ้วล๊อค เหน็บชา ชายปลายมือ ปลายเท้า อัมพฤก เป็นต้น
          ซึ่งดูเหมือนว่า โรคต่างๆ ที่กล่าวมานี้ จะเป็นโรคที่รักษา ไม่หายขาด และไม่ค่อยมี ยา หรือสมุนไพรตัวไหน ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยเหล่านี้ได้โดยตรง แต่ ปอกะบิด สมุนไพร ไทย แท้ 100% กลับได้รับการตอบรับจากกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ เป็นจำนวนมาก และเริ่มเป็นที่นิยม ที่จะหาซื้อ มารับประทาน กันอย่างแพร่หลาย จนทำให้กลุ่มผู้ผลิต ไม่สามารถ ผลิตได้เพียงพอกับความต้องการของผู้ บริโภค เพราะ ปอกะบิดเป็นสมุนไพร ที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ และ ปีหนึ่่งจะออกผล เพียงครั้งเดียว นั่นคือ ช่วง ปลายเดือน ตุลาคม ของทุกปี ไปจนถึง เดือน กุมภาพันธ์ 
       


ความรู้สมุนไพรไทย ปอกะบิด

ความรู้สมุนไพรไทย ปอกะบิด

- รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมที่ วิกิพีเดีย (wikipedia)
  • ชื่อพื้นเมือง       ปอบิด (ปอกะบิด)
  • ชื่อสามัญ           East Indian screw tree
  • ชื่อวิทยาศาสตร  Helicteres isora L.
  • ชื่อวงศ              STERCULIACEAE
มีสารเฮมิเซลลูโลส 15.8%, ลิกนิน 2.89%, เซลลูโลส 18.6%, เพกทิน 0.4%, น้ำมัน 3.11%, กรดไฮดรอกซี่คาร์บอซีลิค, ไฟโตสเตอรอล, phobatanin ใช้เปลือกลำต้นนำมาต้มเป็นยาแก้โรคบิด ท้องร่วง และเป็นยาบำรุงธาตุ


การวิจัยเพกทินบางประเด็นควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์หรือเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้บริโภค เช่น ฤทธิ์ในการยับยั้งการเกาะติดของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ (เพื่อใช้รักษาอาการท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ) ฤทธิ์ในการช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ ฤทธิ์ในการยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งบางชนิด รวมถึงการใช้ประโยชน์เป็นพรีไบโอติก (prebiotics) เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ทีมีประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้อาจนำไปสู่การประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์ต่อไป

ไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) เป็นสารสเตอรอลที่พบในพืช มีโครงสร้างและสมบัติทางเคมีคล้ายกับคอเลสเตอรอลมาก โดยทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนในพืช เมื่อบริโภคเข้าสู่ร่างกายสเตอรอลจากพืชหรือ ไฟโตสเตอรอลจะ ทำหน้าที่เหมือนคอเลสเตอรอลในร่างกายซึ่งมีความจำเป็นต่อการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ การสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศ และวิตามินบางกลุ่ม สำหรับผู้ที่มีปริมาณคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดมากเกินไป อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังชนิดไม่ติดต่อได้ โดยเฉพาะโรคหัวใจ ในขณะที่การบริโภคอาหารที่มีสารประกอบจากไฟโตสเตอรอลจะช่วยยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลในอาหารที่เราบริโภคเข้าไปไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดด้วยกลไกการเข้าไปแทนที่คอเลสเตอรอล และตัวไฟโตสเตอรอลเองจะถูกดูดซึมได้น้อยมาก ทำให้คอเลสเตอรอลจากอาหารถูกดูดซึมน้อยลงและถูกขับออกมาพร้อมกับอุจจาระในที่สุด ดังนั้นการบริโภคไฟโตสเตอรอลจะช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลรวม และแอลดีแอล คอเลสเตอรอล (LDL Cholesterol) หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ลดลง โดยที่ไม่ไปกระทบกับ เอชดีแอล คอเลสเตอรอล
เซลลูโลส 18.6%, เซลลูโลสจะช่วยในการกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้เคลื่อนไหว เส้นใยบางชนิดสามารถดูดซับน้ำได้ดี จึงทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม ขับถ่ายง่าย ท้องไม่ผูก ลดโอกาสการการเกิดโรคริดสีดวงทวาร เซลลูโลสเมื่อถูกย่อยจะแตกตัวออก ให้น้ำตาลกลูโคสจำนวนมาก
 

facebook-po.ga.bid